กฏพื้นฐานทางไฟฟ้า

กฎของโอห์ม (Ohm's Law)

วัสดุต่างๆจะมีคุณสมบัติในการต้านทานการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือกล่าวได้ว่าต้านทาน การไหลของกระแสไฟฟ้า คุณสมบัตินี้จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัสดุ โดยเราเรียกคุณสมบัติ ในการต้านทานการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้านี้ว่า "ความต้านทานไฟฟ้า" (Resistance) เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้คือ R   มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω, Ohms) 
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้านี้เราเรียกว่า"ตัวต้านทาน" (Resistor) มีสัญลักษณ์ดังรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.1 สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน

กฎของโอห์มกล่าวว่า
"แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานมีค่าแปรผันตรงกับกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานนั้น"
โดยต้องกำหนดขั้วของแรงดันและทิศทางของกระแส ตามรูปแบบการกำหนดเครื่องหมายแบบอุปกรณ์พาสซีฟดังรูป 2.1 ด้วย

กำลังงานที่ตัวต้านทานจะหาได้จาก


Georg Simon Ohm
German physicist.(1789-1854)

การลัดวงจร (Short circuit)

คือการที่ค่าตัวต้านทานที่เท่ากับศูนย์ ซึ่งจากกฎของโอห์มถ้าค่า R  = 0 จะได้ v  = 0 นั่นเองโดยที่กระแสi   มีค่าเท่าไรก็ได้

รูปที่ 2.2 การลัดวงจร


การเปิดวงจร (Open circuit)
คือการที่ค่าตัวต้านทานที่เท่ากับอนันต์ ซึ่งจากกฎของโอห์มถ้าค่า R  = ∞ จะได้ i  = 0 นั่นเองโดยที่แรงดัน v   มีค่าเท่าไรก็ได้

รูปที่ 2.3 การเปิดวงจร



ความนำไฟฟ้า (Conductance)

ความนำไฟฟ้า ใช้อักษรย่อเป็น   มีหน่วยเป็นซีเมน (Siemens, S) เป็นความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ ซึ่งก็คือส่วนกลับของความต้านทานนั่นเอง

จะได้กฎของโอห์มในรูปของความนำเป็น

และค่ากำลังงานคือ



Ernst Werner von Siemens
German inventor. (1816-1892)

กฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์ (Kirchhoff's Current Law, KCL)


รูปที่ 2.4 ตัวอย่างของกระแสที่ไหลเข้าที่โนดใดๆ


Gustav Robert Kirchhoff
German physicist.(1824-1887)
กฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์หรือเรียกสั้นๆว่า KCL กล่าวว่า
"ผลรวมทางพีชคณิตของกระแสที่ไหลเข้าโนดใดๆเท่ากับศูนย์"


จากรูป 2.4 จะได้ว่า
กระแส  และ กระแส  มีค่าติดลบเนื่องจากเป็นกระแสที่ไหลออกจากโนด

กฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ (Kirchhoff's Voltage Law, KVL)

รูปที่ 2.5 ตัวอย่างของวงจรที่มีหนึ่งวงรอบปิด

กฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์หรือเรียกสั้นๆว่า KVL กล่าวว่า
"ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันรอบวงรอบปิด (loop) ใดๆเท่ากับศูนย์"


จากรูป 2.5 จะได้ว่า
เครื่องหมายบวกหรือลบของแรงดันพิจารณาจากเครื่องหมายที่พบก่อนตามทิศทางที่กำหนด เช่นวงจรในรูปที่ 2.5 ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเริ่มต้นจากแหล่งจ่ายแรงดัน  ซึ่งจะเห็นว่า  และ  ตามทิศทางดังกล่าวจะพบเครื่องหมายลบก่อน

ตัวต้านทานต่ออนุกรม (Series resistors)
ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกันจะได้ค่าความต้านทานรวมเป็นผลรวมของค่าความต้านทานแต่ละตัว


รูปที่ 2.6 ตัวต้านทานอนุกรมกัน N ตัว



การแบ่งแรงดัน (Voltage division)
ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกันโดยมีแรงดันตกคร่อมรวมเป็น v   จะได้แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวเป็นการแบ่งมาจากแรงดันรวมคือ


รูปที่ 2.7 การแบ่งแรงดัน

โดยแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวหาได้จาก



ตัวต้านทานต่อขนาน (Parallel resistors)
ตัวต้านทานที่ต่อขนานกันจะได้ค่าส่วนกลับของความต้านทานรวมเป็นผลรวมของ ส่วนกลับของค่าความต้านทานแต่ละตัว หรือกล่าวได้ว่าค่าความนำรวมเป็นผลรวมของ ค่าความนำแต่ละตัวนั่นเอง

หรือ


รูปที่ 2.8 ตัวต้านทานขนานกัน N ตัว



การแบ่งกระแส (Current division)
ตัวต้านทานที่ต่อขนานกันโดยมีกระแสที่ไหลในวงจรรวมเป็น i   จะได้กระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวเป็นการแบ่งมาจากกระแสรวมคือ


รูปที่ 2.9 การแบ่งกระแส

โดยกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวหาได้จาก

1 ความคิดเห็น:

  1. Borgata Hotel Casino & Spa - Mapyro
    Find addresses, see photos and read 3026 reviews: "Very good" 충주 출장안마 for Borgata Hotel Casino & Spa 김포 출장샵 "I was 삼척 출장마사지 not impressed with it. I can't find the 대전광역 출장샵 restrooms but I think there 사천 출장안마

    ตอบลบ